ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
บ๊อช ประเทศไทย
อุตสาหกรรม 4.0

การผลิตแห่งอนาคต

อุตสาหกรรม 4.0

ในแต่ละปี ผู้คนและสิ่งต่างๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
แนวโน้มนี้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับรูปแบบของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกันของผู้คน
และกระบวนการที่บริษัทใช้ในการผลิตและจำหน่ายสินค้า บริษัทจำเป็นจะต้องมีความพร้อมที่จะ
แข่งขันในสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่มักจะเกิดความผันผวนของตลาดที่เพิ่มขึ้น
เช่นเดียวกับความต้องการให้มีกำลังการผลิตที่รวดเร็วและเพิ่มมากขึ้น

มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้คน ราว 7 พันล้านคนบนโลก ออนไลน์ และ สิ่งของกว่า 5 หมื่นล้านรายการที่จะ เชื่อมต่อถึงกันภายใน ปี 2563

การที่โลกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาคือสิ่งท้าทายให้บริษัทต่างๆ ต้องพัฒนารูปแบบธุรกิจของตน เพื่อที่จะตามโลกให้ทัน บริษัทต้องการวิธีการผลิตที่ทันสมัยซึ่งต้องอาศัยการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาดเพื่อให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สามารถยกระดับการสร้างมูลค่าในปัจจุบันให้สูงขึ้น และศักยภาพที่ไร้ขีดจำกัดในแง่ของการเพิ่มความสามารถด้านการผลิต ความยืดหยุ่น และคุณภาพ ตัวขับเคลื่อนและผลักดันกระบวนการดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้ก็คือ เทคโนโลยีที่มีการเชื่อมต่อเพื่อให้บริษัทสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตามเวลาจริง ข้อมูลคือหัวใจสำคัญของการปฏิวัติครั้งที่ 4 ในด้านการผลิต: Industry 4.0

พร้อมแข่งขันเสมอกับอุตสาหกรรม 4.0

"โซลูชันส์ อุตสาหกรรม 4.0 โดยบ๊อชมุ่งเน้นองค์ประกอบหลักสามประการ ได้แก่ เครื่องจักร ข้อมูล และผู้คน"
ไซมอน ซอง รองประธานกรรมการอาวุโสด้าน ดิจิตอลโซลูชั่นส์ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สายการผลิตของอุตสาหกรรม 4.0 ทำงานอย่างไร

เครื่องจักร

เครื่อง บ๊อช เร็กซ์รอธ
ชุดควบคุมเครื่อง บ๊อช เร็กซ์รอธ ได้รับการประกอบในโมดูลสายการผลิต

สายการผลิตซึ่งประกอบด้วยโมดูลอัตโนมัติสามชุดและโมดูลแบบควบคุมมือสองชุด ซึ่งควบคุมด้วยเครื่องของ บ๊อช เร็กซ์รอธ ด้วยชิปคลื่นความถี่วิทยุ (ชิป RFID) สแกนเนอร์ในโมดูลอัตโนมัติจะรู้เสมอว่าจะต้องทำการควบคุมแบบใด RFID เป็นคำที่ใช้สำหรับเทคโนโลยีในการระบุและค้นหาวัตถุโดยอัตโนมัติโดยใช้คลื่นวิทยุ โดยจะมีการใช้วัสดุยึดแบบนำความร้อนที่สถานีแรกผ่านระบบการจัดการ ขั้นตอนการผลิตถัดไปคือการอ่านค่าโดยการสแกน RFID อีกครั้ง เพื่อให้หุ่นยนต์ประกอบแผงวงจรที่มีแผงระบายความร้อน แล้วส่งต่อไปยังหุ่นยนต์ตัวที่สองเพื่อยึดเข้าที่

ข้อมูล

สิ่งที่เปลี่ยนสายการผลิต อุตสาหกรรมยุค 4.0 ให้เป็นโรงงานที่มีการเชื่อมต่ออย่างสมบูรณ์คือการถ่ายโอนและการใช้ข้อมูล: สายการผลิตดำเนินงานภายใต้การควบคุมของระบบการผลิต (MES — IT Shopfloor Solutions) MES จะให้ข้อมูลการผลิตที่โปร่งใส เกี่ยวกับชิ้นงานและขั้นตอน เพื่อการ
วิเคราะห์ การวางแผนและการตรวจสอบตามเวลาจริง

การเชื่อมต่อข้อมูลของบ๊อชไปยังแพลตฟอร์มเพื่อจะแปลงข้อมูลเป็นภาษาเครื่อง Production Performance Management Protocol (PPMP) และถ่ายโอนข้อมูลนั้นไปยัง Production Performance Manager ซึ่งจะจับข้อมูลจากการผลิต เครื่องจักร และเซ็นเซอร์ แล้วนำเสนอข้อมูล
เหล่านั้นใกล้กับเวลาตามจริง ระบบจะระบุเหตุการณ์ที่ผิดปกติเพิ่มเติม และแจ้งพนักงานที่รับผิดชอบ
จึงช่วยปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ ช่วยลดผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และลดเวลาที่สายการผลิตส่วนประกอบไม่ทำงาน

ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังระบบในระดับที่สูงกว่า เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นผ่านแท็บเล็ต มือถือ แผงควบคุมพื้นที่ผลิต หรือจากตัวเครื่อง พนักงานยังสามารถทำการบำรุงรักษาโดยใช้เครื่องปลายทางได้

ภาพประกอบการถ่ายโอนข้อมูล

ผู้คน

เวิร์คสเตชัน ActiveAssist

ในอุตสาหกรรมยุค 4.0 มนุษย์คือสิ่งที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการผลิต เมื่อเผชิญกับงานที่ซับซ้อนเป็นพิเศษ พนักงานจะได้รับการสนับสนุนโดยเวิร์คสเตชัน ActiveAssist อัจฉริยะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควบคุมนี้ได้รับการทดสอบ และมีการตรวจสอบการทำงานของชิ้นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่สถานีสุดท้ายของสายการผลิต และจะมีการเปรียบเทียบข้อมูลจากสถานีก่อนหน้ากับผลการทดสอบ เพื่อวิเคราะห์ข้อบกพร่อง

พบกับโรงงานแห่งอนาคต 5G

อาณาจักรแห่งโลกดิจิตอลกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว สิ่งต่างๆ ที่เชื่อมต่อผ่านทาง
อินเทอร์เน็ตมีจำนวนมากขึ้นเป็นทวีคูณในแต่ละปี จากการวิจัยของ IDC
พบว่าอีกสิบปีนับจากนี้ ในหนึ่งนาทีจะมีอุปกรณ์ 152,000 ชิ้นที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
โดยปริมาณข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 2 ในอาเซียนด้วยมูลค่าการผลิต 136,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับที่ 17 ของโลกโดยมีโรงงานประมาณ 60,000 แห่งในปี 2561 (ที่มา: การศึกษาโดย Cisco และ A.T. Kearney) ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะ “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” โดยได้ต้อนรับผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ในระดับโลก (OEM และซัพพลายเออร์) และยังเป็นหนึ่งในประเทศในอาเซียนที่มีความพร้อมที่จะใช้แนวทางการผลิตแบบอุตสาหกรรมยุค 4.0 สืบเนื่องจากอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกที่ซับซ้อน ซึ่งมีการ
สนับสนุนนโยบายจากภาครัฐและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง

การรับเอาเทคโนโลยี 5G มาใช้ คือการปฏิวัติวงการสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยจะตอบสนองความต้องการด้านการส่งผ่านข้อมูลในแทบจะทันทีอันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับระบบอัตโนมัติขั้นสูงที่มีความต้องการใช้งานเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากการเป็นสังคมผู้สูงอายุ และอัตราการจ้างงานต่ำในประเทศไทย และจะช่วยสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน คาดว่าอุตสาหกรรมจะมีมูลค่าสูงถึง 634,000 ล้านบาทในอีก 16 ปีข้างหน้า

บ๊อชเป็นสมาชิกของพันธมิตร 5G ที่ประกาศโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและรองรับโครงสร้างพื้นฐาน 5G มาใช้ภายในปี 2563
อันประกอบด้วยการเปิดตัวห้องปฏิบัติการทดสอบขนาดใหญ่โครงการ 5G
และการทดลองภาคสนามที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

"5G สำหรับบ๊อชคือตัวผลักดันทางอุตสาหกรรมสำหรับโรงงาน แห่งอนาคต 5G จะปลดล็อคโซลูชันส์ทางนวัตกรรมในขอบเขตที่ แตกต่างกัน เช่น รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ, อุตสาหกรรม 4.0, อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง และอื่น ๆ อีกมากมาย"
มร. โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการ บ๊อช ประเทศไทยกล่าว
ศูนย์ทดสอบ

ศูนย์ทดสอบ 5G Testbed ที่ศรีราชา เป็นความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน การทดลองในศูนย์ดังกล่าวจะสาธิตให้เห็นถึงประสบการณ์ 5G สำหรับผู้บริโภคในอุตสาหกรรมเชิงลึกทั้งหมด รวมถึงด้านการศึกษา ยานยนต์ การผลิตและการดูแลสุขภาพ

สิ่งนี้เป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับ 5G เพื่อเปลี่ยนเศรษฐกิจในประเทศให้ขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัลและนวัตกรรม บ๊อชจะมุ่งเน้นไปที่การใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อใช้การสร้างภาพข้อมูลแบบเรียลไทม์และความโปร่งใสของพื้นที่การผลิตร่วมกับการเชื่อมต่อข้อมูล เพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อในเครื่องที่มีอยู่ สำหรับการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้า ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม เราต้องการการเปลี่ยนแปลงในตลาดของเรา ทั้งในแง่ของเทคโนโลยีและธุรกิจ

บ๊อชมีกรณีตัวอย่างการใช้งาน 5G ทางอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่ง โดยที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ภายในงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยี Hannover Messe 2019 คือโซลูชันโลจิสติกส์ภายในโรงงานที่เชื่อมต่อกันโดยใช้เทคโนโลยี 5G และรถลำเลียงอัตโนมัติ (AGV) สำหรับการขนวัสดุจากคลังสินค้าไปยังสายการผลิต เพื่อปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม

บ๊อช ประเทศไทยยังร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับบริษัทอุตสาหกรรมชั้นนำ สนับสนุนรัฐบาลในการปรับปรุงแอปพลิเคชัน 5G เพื่อนำเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงมาใช้ จัดหาอุปกรณ์ให้กับอุตสาหกรรมท้องถิ่นเพื่อเพิ่มผลผลิตและใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้นจาก อุตสาหกรรมยุค 4.0

แคตตาล็อกสินค้า I4.0

แคตตาล็อกสินค้า

แคตตาล็อกสินค้า I4.0

PDF

ติดต่อเรา

คุณนฤมล นวลปลอด
ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ Smart Connected Solutions

โทรศัพท์
อีเมล

ข่าวสารเพิ่มเติม