ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
บ๊อช ประเทศไทย
นวัตกรขององค์กร

การขับเคลื่อนนวัตกรรมในสถานที่ทำงาน

"Promoting innovation and creativity in the workplace."

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมมีความซับซ้อน เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นพยายามหลากหลายด้านที่ต้องอาศัยกลยุทธ์เชิงนวัตกรรมที่แข็งแกร่ง ในขณะเดียวกัน มีความยืดหยุ่นพอที่จะเสริมโครงสร้างพื้นฐานของกระบวนการและแนวทางดำเนินธุรกิจ ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นจะเปิดโอกาสให้นวัตกรรมเติบโตท่ามกลางแนวโน้มของตลาดและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง

นวัตกรรมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จอย่างต่อเนื่องขององค์กร เมื่อย้อนดูประวัติของการดำเนินธุรกิจ เราจะเห็นรายชื่อของอดีตบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เลือนหายไปจากโลกธุรกิจสืบเนื่องจากการจัดการนวัตกรรมที่ล้มเหลว ขณะเดียวกัน บางบริษัทที่เรื่มมีชื่อเสียง มีจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากบริษัทที่ตั้งอยู่ในห้องแถวหรือในโรงรถ แต่สามารถสร้างจุดเด่นด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัยท่ามกลางสภาวะตลาดที่แข่งขันกันอย่างสูง

นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์มีผลอย่างมากต่อการกำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร อย่างนั้นแล้ว บรรดาผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้างานจะปลูกฝังแนวความคิดเรื่องนวัตกรรมให้กับทั้งองค์กรได้อย่างไร?

นวัตกรรมในสถานที่ทำงาน

นวัตกรรมคือการแปลงความคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ เป็นบางสิ่งบางอย่างที่สร้างสรรค์และมีคุณค่าเพื่อตอบสนองต่อความต้องการโดยเฉพาะ องค์กรสามารถพิจารณากระบวนการนี้ได้สองแนวทาง แนวทางแรกคือ การมุ่งไปสู่การคิดค้นผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี เพื่อให้บริการลูกค้าปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น พร้อมๆ กับการดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่เข้ามา ส่วนแนวทางที่สองคือ การมุ่งสร้างนวัตกรรมภายในองค์กรให้เป็นจริง โดยการสนับสนุนให้พนักงานคิดกลยุทธ์และแนวทางแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่เป็นทางเลือก เพื่อรับมือกับปัญหาที่เผชิญอยู่เป็นประจำ ในขณะที่แนวทางแรกอาจช่วยให้องค์กรพบความสำเร็จที่เพิ่มมากขึ้นโดยสะท้อนจากดัชนีชี้วัดทางการเงิน แต่วิธีที่สองกลับเป็นวิธีที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวได้มากกว่า

บทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารฟอร์บส ์ เกี่ยวกับนวัตกรรมและการสร้างสรรค์ระบุว่าบริษัทที่มีวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมจะส่งเสริมบริษัทให้เติบโตขึ้นอย่างง่ายดาย แนวทางการทดลองและทดสอบตอกย้ำความน่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม การได้ลองทำในสิ่งใหม่ๆ นับเป็นการทดสอบที่คุ้มค่า

ที่บ๊อช นวัตกรรมถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของเรา เราลงทุนในหลากหลายด้านของนวัตกรรม ซึ่งผสมผสานสหวิทยาการ การสร้างเครือข่าย และความร่วมมือระหว่างประเทศ ในขณะที่นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีไปข้างหน้า นวัตกรรมก็ยังเป็นวัฒนธรรมที่เราส่งเสริมและบ่มเพาะให้กับพนักงานของเราอีกด้วย

การกระตุ้นความคิดแบบสร้างสรรค์และการแก้ปัญหานวัตกรรม
ภายในองค์กร

การทำงานโดยมีจุดมุ่งหมาย

Bosch associate at work.

การทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม เมื่อพนักงานมีส่วนร่วมตามวัตถุประสงค์ของบริษัท พนักงานจะมีแรงจูงใจมากขึ้น และเต็มใจที่จะใช้เวลาและพลังงานในการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ

ส่งเสริมนโยบายที่สนับสนุน
นวัตกรรม

แต่ละวัน ภาคธุรกิจต้องรับมือกับการทำงานที่ต้องส่งงานให้ทันกำหนดเวลาอย่างต่อเนื่อง มีแผนเชิงกลยุทธ์ที่ต้องจัดทำ และงบประมาณที่ต้องคอยตรวจสอบ ด้วยงานที่ล้นมืออยู่แล้ว พนักงานจึงอาจไม่มีเวลา พลังงาน และพื้นที่เพียงพอในการคิดค้นและคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แท้จริงแล้ว จากการศึกษาวิจัย โดย Gallup พบว่ามีพนักงานเพียง 13% เท่านั้น ที่จะมีส่วนร่วมในการทำงานอย่างเต็มที่ ฉะนั้นคงไม่ต้องพูดถึงแรงจูงใจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมในที่ทำงาน

ดังนั้น การให้ความสำคัญด้านการมอบนโยบายส่งเสริมและสร้างสรรค์นวัตกรรมแก่พนักงานเป็นอันดับต้นๆ จะช่วยสร้างแรงกระตุ้นในการมีส่วนร่วมกับโครงการต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือจากภาระงานที่พวกเขารับผิดชอบอยู่ ให้เวลาและพื้นที่สำหรับพนักงานในแผนกต่างๆ ได้มีโอกาสหารือและค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ร่วมกัน การมีบุคลากรหรือทีมงานในโครงการพิเศษ การจัดให้มีการอภิปรายนอกสถานที่ การฝึกอบรม และการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบสร้างสรรค์อย่างสม่ำเสมอสามารถจุดประกายความคิดให้เกิดสิ่งใหม่ๆ และริเริ่มกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ได้

สนับสนุนผู้ประกอบการ
ภายในองค์กร

ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความกระตือรือร้นในแบบของผู้ประกอบการสำหรับการริเริ่มโครงการใหม่ๆ แต่ทุกองค์กรก็จะมีพนักงานที่มีความทุ่มเท ชอบที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ โดยทำในสิ่งที่แตกต่างออกไป นวัตกรรุ่นใหม่หรือนักประดิษฐ์สายพันธุ์ใหม่ แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่โดดเด่นในการคิดค้นวิธีการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีภายในขอบเขตของระบบนิเวศทางธุรกิจที่มีอยู่ซึ่งสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวกได้

การเสริมขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการภายในจะช่วยเปิดทางให้องค์กรนำแนวคิดเชิงนวัตกรรมมาใช้ได้ การจัดให้มีการประชุมระดมสมองระหว่างแผนกต่างๆ การทำงานร่วมกับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น การจัด Hackathon ให้คำปรึกษาและการสนับสนุนเงินลงทุนสำหรับโครงการภายในเป็นส่วนหนึ่งของตัวอย่างที่บริษัทสามารถดำเนินการเพื่อส่งเสริมจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการภายในขององค์กรได้

สนับสนุนการทดลอง

การลองผิดลองถูกเป็นพื้นฐานของกระบวนการวิจัย และการทดลองสามารถกำหนดมูลค่าที่แท้จริงของแนวคิดที่สร้างสรรค์ได้ ตัวอย่างเช่น หากพนักงานมีข้อเสนอแนะที่เป็นทางเลือกสำหรับซอฟต์แวร์ประมวลผลทางการเงิน แทนที่จะปฏิเสธแนวคิด บริษัทสามารถทำการทดสอบซอฟต์แวร์ได้ภายในแผนกใดแผนกหนึ่งก่อนที่จะวัดผล วิธีการนี้ให้ความสำคัญกับแนวคิดใหม่ๆ และช่วยในการพัฒนาวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมภายในองค์กร

Programmer writing code.
Robert Bosch

เราทุกคนควรพยายามปรับปรุงพัฒนามาตรฐานอยู่เสมอ ไม่ยึดติดกับความสำเร็จในอดีต แต่ควรพยายามหาวิธีปรับปรุงให้ดีกว่าเดิมยิ่งขึ้นไป

Robert Bosch, 1940

ติดต่อกับบ๊อช

อินทิรา พาร์ค
สื่อสารองค์กร

โทรศัพท์
อีเมล

ส่งข้อความหาเรา

ค้นหาเพิ่มเติม